ทศชาติชาดก
เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าตอนเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์
๑๐ ชาติก่อนจะตรัสรู้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละชาติทรงบำเพ็ญ “ทศบารมี” ต่าง ๆ กัน เรียกว่า
หัวใจพระเจ้าสิบชาติ
ชาติที่ ๑ เตมียชาดก
( เต ) ทรงบำเพ็ญเนกขัมบารมี คือ การออกบวช
เนื้อเรื่อง คือ พระชาตินี้ทรงเกิดเป็นกษัตริย์ แต่แกล้งทำเป็นใบ้ เพื่อจะเสด็จออกบรรพชาได้สะดวก
ชาติที่ ๒ มหาชนกชาดก ( ชะ ) ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี คือ ความเพียร
เนื้อเรื่อง คือ
พระมหาชนกทรงโดยสารเรือ เรือแตกต้องว่ายอยู่ในมหาสมุทรถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน
ในที่สุดขึ้นฝั่งได้จากการช่วยเหลือของเทวดาผู้รักษามหาสมุทร
ชาติที่ ๓ สุวรรณสามชาดก ( สุ ) ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี
คือ ความเมตตา เนื้อเรื่อง คือ
พระสุวรรณสามทรงเมตตาสัตว์ในป่าและมีความกตัญญูกตเวทีเลี้ยงดูบิดามารดาที่ตาบอดอยู่ในป่า
ชาติที่ ๔ เนมิราชชาดก ( เน ) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
คือ มีความตั้งใจมั่น เนื้อเรื่อง คือ
พระอินทร์ให้มาตุลีเทพบุตรพาพระเนมิราชไปชมนรกสวรรค์
ชาติที่ ๕ มโหสถชาดก ( มะ ) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
คือ มีปัญญา เนื้อเรื่อง คือ พระมโหสถ ทรงใช้ปัญญาแก้ปัญหาต่าง ๆ
ได้อย่างยอดเยี่ยม
ชาติที่ ๖ ภูริทัตชาดก (
ภู ) ทรงบำเพ็ญศีลบารมี คือ การรักษาศีล เนื้อเรื่อง คือ
พระภูริทัตถูกหมองูจับตัวไป แต่ก็มิได้ทรงทำอันตรายหมองู เพราะเกรงว่าศีลจะขาด
ชาติที่ ๗ จันทกุมารชาดก ( จะ ) ทรงบำเพ็ญขันติบารมี คือ ความอดทน
เนื้อเรื่อง คือ พระชาตินี้พระองค์ถูกจับบูชายันต์ แต่ในที่สุดพระอินทร์มาช่วยไว้ได้
ชาติที่ ๘ นารทชาดก ( นา ) ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
คือ การวางเฉย เนื้อเรื่อง คือ พระองค์ทรงเกิดเป็นพระพรหม
แปลงลงมาทรมานกษัตริย์ที่มิจฉาทิฐิ ให้กลับเป็นสัมมาทิฐิตามเดิม
ชาติที่ ๙ วิทูรชาดก ( วิ ) ทรงเพ็ญสัจจาบารมี คือ
การมีสัจจะ เนื้อเรื่อง คือ พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดปุณกยักษ์ให้หมดยศ
ชาติที่ ๑๐ เวสสันดรชาดก ( เว ) ทรงบำเพ็ญทานบารมี
คือ การให้ทาน เนื้อเรื่อง คือ
พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานต่าง ๆ โดนเฉพาะอย่างยิ่งบุตรทารทานบารมี คือ
การให้บุตรภรรยาเป็นทาน ชาตินี้เป็นพระชาติสุดท้าย นับว่าเป็นพระชาติที่ยิ่งใหญ่
จึงเรียกพระชาตินี้ว่า“มหาชาติ”
ทศบารมี
คือ
บารมี ๑๐ ประการที่พระเวสสันดรบำเพ็ญจนครบในชาติเดียว มีดังนี้
๑. เมื่อประสูติได้ตรัสกับพระมารดาว่าจะบำเพ็ญทานและการบริจาคทานทั้งปวงเป็น
ทานบารมี
๒. เมื่ออยู่ในฆราวาสวิสัย ทรงรักษาเบญจศีลตลอดเวลา
และรักษาอุโบสถศีลทุกๆ ครึ่งเดือนเป็น ศีลบารมี
๓. เมื่อละกามคุณ ทรงผนวชเป็นดาบสอยู่ที่เขาวงกต เป็น เนกขัมมบารมี
๔. เมื่อทรงดำริที่จะให้อัชฌัติกทานตั้งแต่ยังอยู่ในทารกภูมิ
และเมื่อพระราชทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก
ทรงใช้วิจารณญาณช่วยให้บรรเทาความเศร้าโศกเสียใจได้ เป็น ปัญญาบารมี
๕. เมื่อดำรงราชสมบัติทรงอุตสาหะเสด็จออกสู่โรงทาน ๖ แห่ง ทุกๆ
ครึ่งเดือน ไม่เคยขาด เมื่อออกบรรพชา ทรงอุตสาหะบูชาไฟตลอด เป็น วิริยะบารมี
๖. ไม่พิโรธพระราชบิดาที่สั่งให้เนรเทศพระองค์
และทรงอดกลั้นความโกรธ เมื่อเห็นชูชกเฆี่ยนตีพะโอรสทั้งสอง เป็น ขันติบารมี
๗. เมื่อตรัสปฏิภาณว่าจะให้บุตรทานแก่พราหมณ์
ก็ทรงบริจาคให้ตามสัตย์ นับว่าเป็น
สัจบารมี
๘. เมื่อทรงสมาทานมั่น
ไม่ให้พระหฤทัยอาลัยพระโอรสทั้งสองและเมื่อกระทำพระทัยมั่นมิได้
หวั่นไหวเกรงภัยจากกองทัพของพระเจ้ากรุงสญชัยที่จะมารับพระองค์กลับพระนคร นับเป็น อธิษฐานบารมี
๙. เมื่อแผ่พระเมตตาแก่ชาวกลิงคราษฎร์
เมื่อพระราชทานช้างปัจจัยนาค และเมื่อสถิตในเขาวงกตได้แผ่พระเมตตาแก่สรรพสัตว์ทั่วไปเป็น เมตตาบารมี
๑๐. เมื่อตัดความเสน่หาอาลัยในพระโอรสทั้งสองได้ ไม่โกรธชูชก
ทั้งประทับเป็น
มัชฌัตตารมณ์ ไม่รักไม่ชังผู้ใดเป็น อุเบกขาบารมี
ทศพร
พร ๑๐ ประการ
ที่พระอินทร์ประทานให้พระนางผสุสดี
๑. ให้ได้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสีวีราชแห่งกรุงสีพี
๒. ให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาของลูกเนื้อทราย
๓. ให้มีคิ้วโก่งดำสนิท
๔. ให้มีพระนามว่าผสุสดี
๕. ให้มีพระโอรสที่ฝักใฝ่ในการบริจาคทาน
๖. เมื่อเวลาทรงครรภ์มิให้ครรภ์ปรากฏนูนเหมือนสตรีสามัญ
๗. ให้มีถันอันงาม เวลาทรงครรภ์มิให้ดำและหย่อนยาน
๘. ให้มีเกศาสนิท
๙. ให้มีผิวงาม
๑๐. ให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้
พร ๘ ประการ
พร ๘ ประการ
ที่พระอินทร์ประทานให้แก่พระเวสสันดร
๑. ให้บิดาเสด็จมารับพระองค์กลับไปครองราชย์ในนคร
๒. ให้ได้ปลดปล่อยนักโทษทั้งหมด
๓. ให้ได้ช่วยเหลือคนยากจนให้บริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ
๔. อย่าให้ลุอำนาจสตรีให้พอใจแต่พระชายาของพระองค์
๕. ให้กุมารทั้งสองมีมายุยืนนานและเป็นกษัตริย์สืบราชสมบัติ
๖. ให้ฝนแก้วทั้ง ๗ ประการ
ตกในนครสีพีเมื่อพระองค์เสด็จกลับไป
๗. ให้ได้บริจาคทรัพย์แก่คนยากจน ด้วยสมบัติในท้องพระคลังอันไม่รู้หมดสิ้น
๘. เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว
ให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต และในพระชาติต่อมาให้ได้บรรลุ
พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า
การบริจาคทานของพระเวสสันดรที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ๗ ครั้ง มีดังนี้
๑. เมื่อทรงปฏิญาณว่าบริจาค พระหทัย พระเนตร พระมังสา
หรือพระโลหิต ถ้ามีผู้มาขอ
๒. เมื่อพระราชทานช้างปัจจัยนาค
๓. เมื่อพระราชทานมหาทานก่อนเสด็จไปประทับที่เขาวงกต
๔. เมื่อพระราชทานพระโอรสทั้งสองแก่ชูชก
๕. เมื่อพระราชทานพระนางมัทรีแก่พระอินทร์ที่แปลงเป็นพราหมณ์
๖. เมื่อได้พบพระราชบิดา และพระราชมารดาอีกครั้งในป่า
๗. เมื่อเสด็จนิวัติพระนครสีพี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น